หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีการเลือกซื้อกีตาร์สำหรับผู้เริ่มต้น

ถ้าเราจะมีกีตาร์สักตัว เราต้องรู้อะไรบ้าง


ถ้าแบบกว้างๆก็คงมีประมาณนี้ก่อนนะครับ
1. รูปทรง ซึ่งมีมากมายเหลือเกิน ซึ่งในกีตาร์แต่ละทรงแต่ละแบบนั้นก็มักจะให้เอกลักษ์ของโทนเสียงต่างกัน

ไปแม้ จะไม่ใช่ทั้งหมดเพราะมีองค์ประกอบอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งรูปทรงแบบไหนดีสุดคงไม่มีคำตอบให้

ครับ เพราะบางทีมันก็อยู่ที่ความพอใจและความชอบของแต่ละบุคล
2. ยี่ห้อของกีตาร์ ซึ่งในสว่นนี้อาจมีความสำคัญสำหรับบางคนแต่อาจไม่ใช่สาระสำหรับบางคนเช่นกัน

ซึงถ้าเรามียี่ห้อที่ใช่อยู่ในใจแล้ว นั้นก็ทำให้เราสารถตีวงในการเลือกกีตาร์สักตัวมาคู่กายเราได้ง่ายขึ้น

แต่ถ้าท่านไม่ซีเรียสมากว่าต้องเป็นยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ท่านก็จะมีตัวเลือกที่มากมายเพิ่มขึ้นกับการหากีตาร์คู่ใจของ

ท่าน ซึ่งทั้ง2อย่างนี้ยืนอยู่บนพื้นฐานความพอใจของแต่ละบุคลครับ 

3. งบประมาณ ซึ่งอันนี้ผมว่ามีความสำคัญมาก เพราะมันคือตัวกำหนดเลยว่าท่านจะสามารถมีตัวเลือกได้มาก

แค่ไหน ยิ่งงบมีมาทางเลือกของท่านก็จะมากขึ้น แต่นั้นก็ไม่ได้ความว่าเรามีงบประมาณจำกัดแปลว่าเราจะไม่มี

ตัวเลือกนะครับ ถ้าเรารู้จักที่จะเลือกอย่างใช้สติ และคุ้มค่าเงินทุกบาทที่จ่ายไป 




ที่นี้ถ้าท่านมีข้อสรุปใน3ข้อข้างบนได้พอสมครวแล้ว ท่านก็คงจะพอมีกีตาร์สักตัวในใจที่เล็งใว้แล้ว



ที่นี้ก็มาถึงการดูรายละเอียดปลีกย่อยต่อไปครับ ซึ่งนั้นก็คือความถนัดในการเล่น เสียง และเช็คการทำงาน

ของอุปกรณ์ทั่วไปของกีตาร์

ซึ่งทั้งหมดข้างบนนี้ท่านเองละที่ต้องลอง ซึ่งมักมีอีกคำถาตามมาว่าเวลาไปลองกีตาร์เค้าลองอะไร อย่างไร

เพื่ออะไร ซึ่งผมจะกล่าวถึงพอเป็นข้อสังเกตุคร่าวๆนะครับ เพราะดว้ยรูปแบบของกีตาร์ที่หลายหลายเหลือเกิน

ผมคงไม่สามารถพูดถึงลายละเอียดปลีกย่อยได้ทั้งหมดนะครับ ไปลองกีตาร์เค้าลองอะไรกัน แล้วต้องเล่นเพลงอะไรหรือครับ


นี่เป็นอีกคำถามที่เจอบ่อยสำหรับน้องๆที่หัดเล่นกีต
าร์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อกังวลใจของน้องๆบางท่านว่า

ไม่รู้จะเล่นอะไร เล่นไปก็อายเค้า ซื้อๆไปเลยหยิบและจ่ายเงินไปเลย แล้วค่อยกลับมาเล่นมาลองที่บ้านให้

ชุ่มใจ ซึ่งผมว่านั้นเป็นการกระทำที่ไม่ครวสักเท่าไรครับ เพราะถ้าท่านไม่ได้ลองหาข้อด้อย จุดเด่น

ความถนัด แล้วเมื่อท่านซื้อกลับมาบ้านแล้วมาพบเจอ นั้นคือปัญหาของท่านแล้วละครับที่ต้องมาทนกับปัญหา

ที่เกิดขึ้นจากกีตาร์ที่ท่านไม่ลองก่อนซื้อ เพราะฉะนั้นเมื่อมีโอกาศที่จะได้ลองกีตาร์ก่อนซื้อขอให้ลองไปครับ

การลองทดสอบเล่นกีตาร์ ที่เราจะซื้อไม่ได้หมายถึงเราต้องไปเล่นโชว์การปั่นการสวีฟ หรือเล่นเพลงยอดฮิต

หรอกครับจากข้างบนก็มาต่อครับหลังจากลองเล่ลองดีดแค่วัดความถนัดคร่าวๆแล้ว ลองเช็คในจุดอื่นๆของกีตาร์ครับ

ขั้นแรกลองเช็คว่าสายมีอาการติดเฟรทไหมเวลาดีดซึ่งทำง่ายๆโดยการกดที่ช่อง1สาย1 แล้วลองดีดดูว่าเสียง

ที่ออกมาเป็นไง มีเสียงที่สายกีตาร์กระแทกกับก้านเฟรทกีตาร์ไหม แล้วเสียงที่ได้มีความค้างยาว หรือหว้นสั้น

แบบใด ซึ่งถ้าเป็นปกติไม่มีปัญหาเสียงที่ได้ต้องมีความค้างยาวไม่ห้วนสั้นหรือมีเสียงสายตีกับก้านเฟรท

หลังจากนั้นก็ขัยบมากดที่ช่อง2สาย1 แล้วดีและฟังเสียงดูอีกครั้ง หลังจากนั้นก็ขยับตำแหน่งกดไปเรื่องๆให้

ครบทุกช่องทุกสายครับ 

ปล. ถ้าในบางเฟรทที่ดีดแล้วเกิดเสียงสายกระทบเฟรท นั้นไม่ได้หมายถึงกีตาร์ตัวนั้นมีปัญหาเสมอไปนะครับ

เพราะถ้าอาการที่มีไม่มากมายเราสามารถปรับแต่งแก้ไขได้ง่ายๆครับหลังจากลองเช็คหาตำแหน่งบอดในคอกีตาร์แล้วที่นี้เรามาลองเช็คอุปกร์ต่างๆของกีตาร์ว่าใช้งานได้100%

เริ่มจากการเสียบกีตาร์เข้าแอมป์แล้วลองเล่นครับ เล่นเพื่ออะไรก็เพื่อเช็คการทำงานในส่วนต่างๆครับ

ขั้นแรกเลยของเช็คพวกปุ่มปรับค่าโทนและวอลลุ่มในตัวกีตารืครับ ว่าเมื่อเราหมุนใช้งานมันแล้ว

มันทำงานตามที่เราควบคุมไหม ลองดีดกีตาร์แล้วหมุนเพิ่มหรือลดวอลลุ่มกีตาร์ทีละนิดแล้วดีดเช็คไปเรื่อยๆ

ว่าเสียงกีตาร์ที่เราได้ยินมันดังเบา ตามจังหวะที่เราหมุนวอลลุ่มกีตาร์ไหม

แล้วก็มาลองเช็คที่ปุ่มปรับโทนของกีตาร์อีกทีโดยใช้วิธีการแบบเดียวกับการเช็คการทำงานของวอลลุ่มกีตาร์

แต่ทีนี้เราจะไม่ฟังความดังเบาของเสียงกีตาร์แต่เราจะเช็คว่าเมื่อหมุนปุ่มโทนของกีตาร์แล้วเสียงกีตาร์ที่เราได้

ยินการเปลี่ยนแปลงของโทนเสียงความทุ้มแหลม มากน้อยเพียงใดหลังจากนั้นก็มาลองเช็ค ปิ๊คอัพและซีเลคเตอร์นะครับ ซึ่งทั้งpuและซีเลคเตอร์มีกี่แบบอันนั้นคงไม่ขอกล่าวถึง

ครับเพราะมากมายเกินบรรยาย แต่ผมขอกล่าวถึงแค่การเช็คว่ามันทำงานเป็นปกติไหม เสียงเสียงรบกวนเวลา 

เราใช้งานอุปกรณ์พวกนี้ไหม 

ลองเล่นกีตาร์ไปแล้วลองสลับซีเลคเตอร์ขึ้นลงไปทีละนิดแล้วดีดไปเรื่อยๆนะครับ เช็คว่าในทุกตำแหน่งที่เรา

เลื่อนตำแหน่งซีเลคเตอร์ไป เสียงกีตาร์ที่ออกมา มันดังครบทุกตำแหน่งในการเลือกใช้งานไหม มีเสียงรบกวน

คอ๊กแค๊ก เวลาใช้งานไหม ซึ่งเสียงรบกวนนี้มักจะมาจากราบสกปรกที่ติดอยู่ตามหน้าสัมผัสของซีเลคเตอร์
ถ้ากีตาร์ตัวที่เราลองมีสวิชที่สามารถตัดคอยล์ของpu ได้ลองใช้งานมันดูแล้วฟังเสียงกีตาร์ว่ามีความเปลี่ยน

แปลงจากการใช้งานไหม

ปล.ในการลองเทสข้อนี้อย่าลืมหมุนเปิดวอลลุ่มและโทนของกีตาร์ด้วยนะครับ 
ที่นี้มาเช็คที่รูเสียบแจ็ค ลองเล่นแล้วขยับตรงจุดนี้ดูครับว่ามีเสียงกีตาร์ออกมาเต็มไหม มีเสียงรบกวนไหม

ซึ่งถ้ามีปัญหานั้นอาจหมายถึงรูแจ็คสว่นนี้ของกีตาร์มีปัญหาครับ
ย้อนกลับมาดูด้านบนกันบ้างที่นี้พูดถึงลูกบิดกีตาร์ ขั้นแรกลองใช้มือขยับและโยกที่ตัวลูกบิดดูว่า

แน่นหนาดีไหม และลองเทสตั้งสายดูว่า มีความเพี้ยนมากน้อยแค่ไหน โดยการเล่นและดีดกีตาร์ไปสักพัก

ลองดันสายขยี้สายกีตาร์สักครู่ ทีนี้ลองเล่นแบบจับคอร์ดดูแล้วฟังเสียงว่าเสียงกีตาร์ที่ได้มีความเพิ้ยนไหม

ซึ่งถ้าเพี้ยนจากที่เพิ่งตั้งสายใว้นั้นหมายถึงลูกบิดกีตาร์เรามีการคลายตัวครับ ซึ่งเป็นปัญหาให่ญสำหรับ

การเล่นเลยนะครับถ้าเราต้องคอยเล่นไปและตั้งสายไปทุกเพลง


ลองตรวจดูสภาพเฟรทว่าเป็นไงบ้างยิ่งถ้าเป็นกีตาร์มือ2 ยิ่งต้องดูในจุดนี้ว่าตัวก้านเฟรนมีสถาพดีไหม



ก้านเฟรทมีรอยหรือเปล่าความสึกของก้านเฟรทมากน้อยแค่ไหน ตรวจดู ด้านข้างของ

เฟรทที่ติดกับตัวฟิงเกอร์บอร์ดไหม ติดแน่นไหม มีสว่นไหนง้างขึ้นมาหรือไม่ หรือปลายก้านเฟรทด้านข้าง

ล้ำออกมาจากฟิงเกอร์บอร์ดไหม ลองเอามือรูปด้านข้างของฟิงเกอร์บอร์ด ทั่วคอกีตาร์ว่ามีอาการสะดุดในจุดที่

เป็นด้านเฟรทไหมตรวจสอบสภาพคอ โดยทำได้โดยจับกี่ก้นกีตาร์ยกขึ้นให้ได้ระดับสายตาแล้วให้ตัวกีตาร์ขนานกับพื้น

แล้วลองส่องดูว่าคอกีตาร์มีลักษณะบิดไหม ถ้าบิดนั้นถือว่าอาการหนัก เพราะการแก้ไขค่อนข้างยาก

และมีราคาพอสมครว กีตาร์ตัวไหมมีลักษณะคอบิดครวหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะกีตาร์มือ2ตรงจุดนี้ต้องเช็คให้

ครับ หลังจากดูว่าคอบิดไหม ทีนี้อีกครั้งว่าคอมีลักษณะ แอ่นหรือโค้งไหม ซึ่งตามปกติแล้วมันจะไม่เป็นเส้น

ตรงสักเท่าไรครับจะแอ่นเล็กน้อย ย้ำเพียงแค่เล็กน้อยนะครับ

ซึ่งอาการแอ่นหรือโค้งเล็กน้อยนี้สามารถเป็บแต่งได้ที่เหล็กขันคอกีตาร์ครับ 


แนะนำการทำกีตาร์จากวัสดุก่อสร้างเหลือใช้


กีต้าร์ทุกตัวที่เค้าทำจะต้องได้รับการเลือกไม้ด้วยตัวเค้าเอง เพราะเพียงแค่ลวดลายสวยงามไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันถึงเสียงที่ดี หรือแม้แต่ไม้ที่ราคาแพงที่สุดด้วย ประเด็นคือคุณต้องรู้ให้ได้ว่าไม้ชิ้นไหนจะทำให้คุณได้กีต้าร์เสียงอย่างไรเมื่อทำเสร็จแล้ว เพราะไม้บางชิ้นเหมาะมาทำเป็นกีต้าร์สำหรับ กีต้าร์ ฟิงเกอร์สไตล์ หรือเหมาะกับ Dreadnought ไม้บางชิ้นอาจเหมาะกับ หลังเมเปิ้ล เป็นต้น และนี่คือสิ่งที่ผมต้องรู้Voicing และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างกีต้าร์คือเรื่องของเสียง เพราะไม่มีไม้ชิ้นใดจะเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น น้ำหนัก ความแข็ง การก้องสะท้อน 
สำหรับกีต้าร์ของเรามีการปรับเสียงด้วย สามขั้นตอน หนึ่ง ความหนาของไม้หน้า และไม้หลัง เพื่อความยืดหยุ่น และน้ำหนัก
หลังจากปรับไม้หน้าและหลังแล้วก็จะเป็นเรื่องของ โครงคาดด้านในเราต้องทำการปรับจนได้ โน๊ตที่ชัดเจนที่สุด ลองนึกง่ายๆเหมือนกับการจูนแผ่นไม้ Marimba(ระนาดฝรั่ง) เรามีหลักในการถือ การเคาะลงไป เพื่อฟังเสียงที่ตอบสนองกลับมา แล้วจึงทำการปรับความหนา สั้นยาว สูงต่ำ

เมื่อสองอย่างแรกได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว สิ่งสุดท้ายคือนำไม้หน้าหลังมาประกอบกับด้านข้างด้วยกาว แล้วจึงทำการปรับตั้งอีกครั้งด้วยการขัดจากผิวด้านนอก หลังจากนั้นจึงปล่อยให้ไม้และกาวประสานกันผ่านการสั่นสะเทือน เราก็จะได้เสียงที่มีพลัง



SINGLE SCALLOPED X BRACING
เมื่อครั้งที่ผมลองเริ่มทำกีต้าร์ OM เราได้เสียงที่มีสมดุล เสียงสูงที่ดี ความใส หลังจากนั้นหลายๆปี ผมพยายามจะใส่สิ่งเหล่านั้นลงไปในกีต้าร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น กีต้าร์ Dreadnought นั้นขึ้นชื่อกับเสียงย่านต่ำที่ดี แต่ยากนักที่จะให้สมดุลในเสียงสูง
ผมจึงได้ไอเดียร์ในการเพิ่มเนื้อเสียงให้กับย่านสูงใน X-Brace ด้วยวิธี SINGLE SCALLOPED เราจึงนำวิธีดังกล่าวมาใช้กับกีต้าร์ทุกรุ่นของเรายกเว้น OM เท่านั้น


ยังมีคนถามผมอยู่ว่าได้ลงมือสร้างกีต้าร์เอง หรือไม่ คำตอบก็คือตราบใดที่บนหัวกีต้าร์ยังมีชื่ื่อของผม รับรองได้ว่ากีต้าร์ทุกตัวผลิตด้วยมือในรัฐ เมน และมีผมร่วมอยู่ในการผลิตทุกตัว ผมยังทำงานในช็อบอยู่ทุกวันและก็ลงมือทำกีต้าร์ทุกตัวครับ

Rise of Guitar

กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มากขึ้น
     ผู้หนึ่งที่สมควรจะกล่าวถึงเมื่อพูดถึงประวัติของกีตาร์ก็คือ         Fernando Sor
 ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการกีตาร์เป็นอันมากเนื่องจาการอุทิศตนให้กับการพัฒนารูปแบบการเล่นกีตาร์เทคนิคต่าง ๆ และได้แต่งตำราไว้มากมาย ในปี 1813 เขาเดินทางไปยังปารีตซึ่งเขาได้รับความสำเร็จและความนิยมอย่างมาก จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังลอนดอนโดยพระราชูปถัมป์ของ Duke of Sussex และที่นั่นการแสดงของเขาทำให้กีตาร์เริ่มได้รับความนิยม จากอังกฤษเขาได้เดินทางไปยังปรัสเซีย รัสเซียและได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองเซนต์ ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งที่นั่นเขาได้แต่งเพลงที่มีความสำคัญอย่างมากเพลงหนึ่งถวายแก่พระเจ้า Nicolus I จากนั้นเขาก็ได้กลับมายังปารีตจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อปี 1839 หลังจากนั้นได้มีการเรียนีการสอนทฤษฎีกีตาร์ที่เด่นชัดและสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้กีตาร์ได้รับการพัฒนาอย่างมากหลังจากนั้นมีอีกผู้หนึ่งที่มีความสำคัญต่อกีตาร์เช่นกันคือ Francisco Tarrega (1854-1909)ซึ่งเกิดมาในครอบครัว
                                                                                                              
                                                                                            ที่ยากจนแต่ด้วยความสามารถด้านดนตรีของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนได้จากการแสดง ณ Alhambra Theater จากนั้นเขาได้เดินทางไปยัง Valencia, Lyons และ Paris เขาได้รับการยกย่องว่าได้รวมเอาคุณสมบัติของเครื่องดนตรี 3 ชนิดมารวมกันคือ ไวโอลิน, เปียโน และ รวมเข้ากับเสียงของกีตาร์ได้อย่างไพเราะกลมกลืน ทุกคนที่ได้ฟังเขาเล่นต่างบอกว่าเขาเล่นได้อย่างมีเอกลักษณ์และสำเนียงที่มีความไพเราะน่าทึ่ง หลังจากเขาประสบความสำเร็จใน London, Brussels, Berne และ Rome เขาก็ได้เดินทางกลับบ้านและได้เริ่มอุทิศตนให้กับการแต่งเพลงและสอนกีตาร์อย่างจริงจัง ซึ่งนักกีตาร์ในรุ่นหลัง ๆ ได้ยกย่องว่าเขาเป็นผู้ริเริ่มการสอนกีตาร์ยุคใหม่
     อีกคนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ Andres Sergovia ผู้ซึ่งเดินทางแสดงและเผยแพร่กีตาร์มาแล้วเกือบทั่วโลกเพื่อให้คนได้รู้จักกีตาร์มากขึ้น (แต่คงไม่ได้มาเมืองไทยน่ะครับ) ทั้งการแสดงเดี่ยวหรือเล่นกับวงออเคสตร้า จนเป็นแรงบันดาลใจให้มีการแต่งตำราและบทเพลงของกีตาร์ขึ้นมาอีกมากมาย อันเนื่องมาจากการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกีตาร์อย่างเปิดเผยและจริงจังของเขาผู้นี้ นอกจากนี้ผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ทำให้ประวัติศาสตร์กีตาร์เปลี่ยนหน้าใหม่เพราะทำให้นักีตาร์ได้มีโอกาสแสดงใน concert hall มากขึ้น และทำให้เกิดครูและหลักสูตรกีตาร์ขึ้นในโรงเรียนดนตรีอีกด้วย

ประเภทของกีตาร์หลักๆ

 ตามที่เรา ๆ ท่าน ๆ นั้น จะรู้กันอยู่แล้วว่ากีตาร์นั่นก็มีอยู่สองแบบคือ กีตาร์โปร่ง กับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ว่าเราลองมารู้จักกีตาร์ในแต่ละประเภทกันให้มากกว่านี้ดีกว่า (ถ้ารูปไม่โชว์ ให้ลองคลิ๊กเม้าส์ขวา แล้วกด show picture นะครับ)
     1. กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย สามารถแบ่งได้ดังนี้
     1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
          กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco) ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการพัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมีจังหวะที่ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน
ด้วยเหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิคนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายนักนะครับกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริงเป็นจังกับโรงเรียนดนตรี
bigpic.jpg (8313 bytes)flamencoBfront.jpg (47292 bytes)flamencoBback.jpg (43036 bytes)flamencoBside.jpg (38276 bytes)



























 1.2 กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มีนะครับ) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
          กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์ หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์, jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์ นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด) ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น (และยังมีกีตาร์เบสโปร่งซึ่งมี 4 สายที่อยู่รูปล่างซ้ายสุด 2 ตัว ใช้เล่นเบสแต่ผมไม่ค่อยเห็นคนเล่นเท่าไรครับสำหรับเบสโปร่งประเภทนี้) อ้อมีอีกแบบหนึ่งมีรูปร่างคล้ายกีตาร์คลาสสิก แต่ใช้สายโลหะซึ่งเป็นกีตาร์ฝึกราคาค่อนข้างถูกเหมาะสำหรับผู้ที่อยากเล่นกีตาร์แต่ไม่แน่ใจว่าจะเอาจริงหรือเปล่าก็ลองซื้อมาหัดเล่นดูว่าไหวมั้ย
 folk.jpg (208664 bytes)



แสดงกีตาร์โฟล์คแบบต่าง ๆ และส่วนต่าง ๆ โดยคร่าว ๆ






     2. Arch top กีตาร เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส
       3. Semi Acoustic กีตาร์ เป็นกีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่กีตาร์ดปร่งไฟฟ้านะครับ กีตาร์โปร่งไฟฟ้าก็คือกีตาร์โปร่งที่ได้มีการประกอบเอา pick up (ที่เราเรียกกันว่าคอนแทคนั่นแหละครับ) ประกอบเข้าไปกับตัวกีตาร์โปร่งทำให้สามารถต่อสายจากกีตาร์เข้าเครื่องขยายได้โดยตรง ไม่ต้องเอาไมค์มาจ่อที่กีตาร์หรือไม่ต้องไปซื้อ pick up มาต่อต่างหาก แต่ Semi Acoustic กีตาร์จะมีลำตัวโปร่ง และแบนราบ แต่จะมี pick up ติดอยู่บนลำตัว และมักจะมีช่องเสียงเป็นรูปตัว f เช่นเดียวกับแบบ arch top ซึ่งทำให้กีตาร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติของกีตาร์โปร่งคือเล่นแบบไม่ต่อเครื่องขยายก็ได้หรือจะต่อเครื่องขยายก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่กีตาร์ประเภทนี้มักจะพบว่าใช้ในดนตรีบลูส์ หรือดนตรีแจ๊สเป็นส่วนมาก

     4. Solid Body Electric Guitar ซึ่งก็คือกีตาร์ไฟฟ้าที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันดีอยู่แล้วซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบแต่ลักษณะเด่นก็คือลำตัวจะเป็นแบบตัน และประกอบด้วย pick up ซึ่งเป็นหัวใจของกีตาร์ไฟฟ้าอีก 2 หรือ 3 ชุด ไว้บนลำตัวกีตาร์สำหรับแปลงสัณญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่องขยายอีกที กีตาร์ประเภทนี้ต้องมีเครื่องขยาย(แอมป์นั่นแหละครับ)มิฉะนั้นเวลาเล่นต้องเอาหูไปแนบใกล้ ๆ ตัวกีตาร์ถึงจะได้ยินเสียง แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะปรับแต่งเสียงของมันได้อย่างอิสระด้วยการ control ปุ่ม volume หรือ tone และยังใช้ร่วมกับ effect ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตมามากมายหลายแบบเหลือเกิน เช่น distortion ,overdrive, flanger เป็นต้น ทำให้สามารถปรับแต่งสำเนียงกีตาร์ตามที่เราต้องการได้
     นอกจากนี้ pick up ที่ใช้ยังมีทั้งแบบ single coil และแบบ double coil (humbacking) ซึ่งต่างลักษณะของการพันขดลวดรอบแกนแม่เหล็กและทำให้เสียงที่ได้ออกมานั้นต่างกันอีกด้วย การติดตั้ง pick up ไว้ในตำแหน่งที่ต่างกันก็จะให้เสียงที่ต่างกันด้วยเช่นกัน เช่น การติด pick up ติดกับปลายสุดของฟิงเกอร์บอร์ดจะให้เสียงที่ทุ้ม หรือ pick up ที่ติดกับสะพานสาย (bridge) จะให้เสียงที่แหลมกว่าใช้ในการ solo เป็นต้น และอุปกรณ์พิเศษอีกอย่างที่สามารถทำให้เสียงกีตาร์แปลกออกไปก็คือคันโยก (tremolo bar) ได้แก่ชุดก้านยาว ๆ ที่ติดอยู่กับสะพานสายนั่นเองใช้กดขึ้นลงเพื่อเปลี่ยนความตึงของสายกีตาร์ทำให้ระดับเสียงที่ออกมานั้นแตกต่างไปจากปกติ สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากในวงการดนตรี pop rock เพราะมีเสียงหนักแน่นเล่นได้ทั้งแบบ rhythm หรือการ solo (หรือเล่น lead กีตาร์) โชว์สำเนียงของกีตาร์และสไตล์ของแต่ละคนซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นมาก
electric .jpg (76896 bytes)











      5. Resonator กีตาร หรือ Resophonic กีตาร์ เป็นกีตาร์อีกประเภทที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก บางทีก็เรียกว่า dobro มีลักษณะเด่นคืออาศัย resonatorซึ่งจะทำให้เกิดเสียง resonance หรือขยายเสียงให้ดังโดยทำให้เกิด resonance มีทั้งแบบ tri-plate resonator คือมีเจ้า resonator 3 แผ่น และแบบ single-resonator คือมี resonator แผ่นเดียวนั่นเอง โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะ ถ้าสนใจรายละเอียดมากว่านี้ไปดูที่ประวัติความเป็นมาของมันก็คลิ๊กเลยครับ สำหรับกีตาร์ประเภทนี้มักจะเล่นกับเพลงบลูส์ที่ใช้สไลด์เช่นพวกเดลต้าบลูส์ หรือประเภทบลูกลาส ( bluegrass ) โดยใช้ไสลด์กีตาร์ หรือเล่นกับเพลงแบบฮาวายdobro copy.jpg (87975 bytes)











     6. กีตาร์ steel หรือ pedal steel guitar หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับเจ้ากีตาร์แบบนี้เท่าไรนัก ผมเพิ่งได้จริง ๆ ก็ตอนดู v.d.o. คอนเสิร์ทของ The Eagles ซึ่งมีการใช้เจ้ากีตาร์ประเภทนี้อยู่ด้วยในบางเพลงเล่นโดย don felder ส่วนใหญ่กีตาร์แบบนี้จะเล่นในเพลงประเภทเพลง country และแบบ ฮาวาย เป็นส่วนมากเวลาเล่นจะเล่นด้วยสไลด์ ดูจากรูปครับ